LIVING TM 30 AND 90 DAYS REPORT
Notification of residence of foreigners for businesses
According to section 38 of the 1979 immigration act, “House owners, heads of household, landlords or managers of hotels who accommodate foreign nationals on a temporary basis who stay in the kingdom legally, must notify the local immigration authorities within 24 hours from the time of arrival of the foreign national.” If there is no immigration office in the province or locality of the respective house or hotel, the notification is made to the local police station. In Bangkok the notification is made to the Immigration Bureau. The notification of residence of foreign nationals is made by the manager of licensed hotels according to the hotel act, owners of guesthouses, mansions, apartments and rented houses using the form TM. 30. The notification of residence of foreign nationals within 24 hours can be made in a number of ways to make the notification as convenient as possible:
– In person at the respective office, or
– Through an authorised person at the respective office, or
– By registered mail, or
– Via internet.
Filling in the foreign national residence notification form (TM. 30)
Please fill in all requested information according to the foreign national’s passport, as often arriving passengers do not fill in the correct data on the arrival card. The form can be typed or handwritten in clear block letters. Leave a space between name, middle name, and surname.
– If the passport number is preceded or followed by a letter, fill in the letter too.
– Write the arrival card number (TM. 6) in the respective field. The arrival card is stapled into the passport. Both letters and numbers of the arrival card number must be filled in.
– Arrival date means the date of arrival in Thailand. Date of accommodation must be filled in on the front page of the notification sheet.
After the officer in charge has verified the information on the notification sheet (TM. 30), he accepts the notification and hands over the lower part of the form to the person making the notification. This part must be kept for further checking.
For details contact 0-2141-7881
Registration by businesses via Internet.
Prepare the documents
1. Business licence or signed copy of business registration confirmation
2. Letter of authorisation to conduct the registration via internet
3. Copy of ID card of person giving authorisation and authorised person
4. Fill in the form provided by the officer (download)
5. 1 empty compact disk (CD)
Hand over the complete documents to the officer in charge.
1. The officer examines the documents.
The officer announces the result of the examination.
1. If documents are incomplete, the business owner is notified.
2. If documents are complete, the officer in charge accepts the registration. The registration code is sent to the business by mail or e-mail as indicated by the business owner, together with record forms.
Notification of staying in the Kingdom over 90 days
Procedure and notification
1. The foreigner makes the notification in person, or
2. The foreigner authorises another person to make the notification, or
3. The foreigner makes the notification by registered mail.
4. The notification must be made within 15 days before or after 7 days the period of 90 days expires.
5. The first application for extension of stay by the foreigner is equivalent to the notification of staying in the Kingdom over 90 days.
Offices accepting notification:
1.Incase of The foreigners who reside in Bangkok, make the notification in person, or authorizes another person to make the notification at 90 Days Report Section , 2nd Floor , Muang Thong Thani Temporary Service Center (Popular Rd., Pakkred district, Nonthaburi). (MAP)
Incase of The foreigners who reside in Bangkok, make the notification by registered mail at
90 Days Report Section Immigration Division 1 , Immigration Bureau, Chalermprakiat Government Complex B Building120 Moo 3 , Chaengwattana Rd., Soi 7, Toongsonghong, Laksi, Bangkok. 10210
2. One Stop Center for Visa and Work Permits located at Chamchuri Square Building , Floor 18, Phayathai Rd. Phatumwan, Bangkok (Only the specific law). Services are provided only to foreigners who have already submitted an application for temporary stay in the kingdom of Thailand. (MAP)
3. Immigration Service Center for 3 National Legalized Labors in Bangkok ( for 3 National Legalized Labors such as Myanmar, Laos and Cambodia who reside in Bangkok) (MAP)
4. For other provinces, notify at Immigration Checkpoint in local area where the alien resides.
Notification by registered mail
1. Photocopy of passport pages with following pages
– front page showing name / surname / Passport No., ect.
– current visa
– last entry stamp of immigration
– last extension of visa
2. Photocopy of departure card TM.6 click to view Example TM.6 card
3. Previous notifications of staying over 90 days (if any) click to view Example document
4. Completely filled in and signed notification form TM.47 click to view Example document (Don’t forget to sign name.)
5. Envelope with 10 Baht stamp affixed and return address of foreigner for the officer in charge to send back the lower part of form TM. 47 after having received the notification. This part must be kept for reference and for future notifications of staying over 90 days.
6. The above mentioned documents must be sent by registered mail and the receipt of the registration kept by the foreigner.
Send the mail before the renewal date 15 days to Immigration Checkpoint in local area where the alien resides.
Notice :
– Your registered mail must be sent to the Immigration office at least 15 days before the due date of notification.
– Your new form will be stamped as of the expiration date of your old receipt.
– Please keep your receipt of your registered mail in case of lost mail.
– Your document can not be processed if you have passed the 90 days limit. ( You must come to the nearest immigration office or Immigration Division 1 in person to pay fine 2,000 Baht)
– Waiting for reply mail over 1 month, please contact Immigration Office with your registered mail receipt.
Note
– The notification of staying in the Kingdom over 90 days is in no way equivalent to a visa extension.
– If a foreigner staying in the kingdom over 90 days without notifying the Immigration Bureau or notifying the Immigration Bureau later than the set period, a fine of 2,000.- Baht will be collected. If a foreigner who did not make the notification of staying over 90 days is arrested, he will be fined 4,000.- Baht.
– If a foreigner leaves the country and re-enters, the day count starts at 1 in every case.
การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ
การแจ้งที่พักของคนต่างด้าว ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ตามวรรคหนึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมือง การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด”
ในการแจ้งที่พักคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัยในเคหะสถานซึ่งได้แก่ โรงแรมที่ได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติโรงแรมฯและเกสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ สถานประกอบการหรือบ้านเช่าทั่วๆไป ให้เจ้าของเคหสถานดังกล่าว เจ้าของบ้านเช่า หรือผู้ประกอบการแจ้งตามแบบ ตม. 30
กรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่ งานรับแจ้งที่พักอาศัย ชั้น 2 ศูนย์บริการชั่วคราวเมืองทองธานี อาคาร 6 ชั้น ถนนป๊อปปูล่า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี (ตามวันและเวลาราชการ)
กรณีที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ให้แจ้ง ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในเขตพื้นที่ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการแจ้งที่พักของคนต่างด้าวตาม มาตรา 38ฯ ดังกล่าวนั้น สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้กำหนดรูปแบบและวิธีให้บริการเพื่อผู้มาขอรับบริการได้เลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการดังนี้
• นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง หรือ
• แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ
• แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet)
วิธีการแจ้ง
วิธีที่ 1 นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง
นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในเขตพื้นที่ ที่คนต่างด้าวพักอาศัย (ตามวันและเวลาราชการ)
วิธีที่ 2 แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
1. กรอกแบบฟอร์มการแจ้ง พร้อมลงชื่อผู้แจ้งให้เรียบร้อย
2. ซองจดหมายขนาด 6.5 x 9 นิ้ว พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง เพื่อส่งใบรับแจ้งของเจ้าหน้าที่คืน
3. นำเอกสารข้อ 1-2 ใส่ซองลงทะเบียน (เก็บใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน) ส่งตามที่อยู่ ดังนี้
กรณีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯ ส่งไปที่
งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว
กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
สำหรับต่างจังหวัด ส่งไปที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่ง ตามเขตพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย
วิธีที่ 3 แจ้งทางอินเตอร์เน็ต (Internet)
1. ลงทะเบียนขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางระบบอินเตอร์เน็ตที่ www.immigration.go.th ในหน้าต่าง การแจ้งที่พักอาศัย เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว จะแจ้งรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน สำหรับเข้าใช้ระบบไปยัง e-mail ที่ลงทะเบียน
2. สามารถ Download แบบขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.immigration.go.th
3. สามารถ Download คู่มือการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตและแบบ ตม.30 ในหน้า login เข้าระบบ
หรือกดดูขั้นตอนการเข้าระบบแจ้งที่พัก
** เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสถานประกอบการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้พัฒนาระบบแจ้งที่พักให้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทางในการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าว สามารถตรวจสอบรายละเอียดรุ่น และยี่ห้อของเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง รวมทั้งดาวน์โหลด Driver เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมใช้งานเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง และคู่มือการใช้งานระบบฯ ได้จากหน้าจอ Log in เข้าระบบแจ้งที่พักอาศัย ผ่านทางเว็บไซต์ www.immigration.go.th ***
วิธีการกรอกบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย(แบบ ตม.30)
กรณีมาแจ้งด้วยตนเองหรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
แบบการแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย สำหรับเจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะสถาน(ตม.30) ประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วน(2 แผ่น)ด้วยกัน ส่วนแรก เป็นการกรอกรายละเอียดข้อมูลของเจ้าบ้านฯและที่ตั้งสถานที่ที่มีคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ส่วนที่ 2 เป็นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย
การกรอกรายละเอียดในแบบตม.30 ส่วนที่ 2 ขอให้ท่านดำเนินการกรอกให้ครบทุกช่อง โดยให้ดูจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก เนื่องจากรายละเอียดของบุคคลต่างด้าว ซึ่งบุคคลต่างด้าวเขียนให้ก่อนเข้าพักอาศัยมักไม่ถูกต้อง และการกรอกให้ใช้วิธีพิมพ์หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนให้เขียนเป็น BLOCK LETTER และมีข้อพึงระวังในการกรอกดังนี้
1. ชื่อคนต่างด้าว ต้องเว้นช่องว่างระหว่าง ชื่อตัว ชื่อกลาง ชื่อสกุล ให้เห็นชัดเจน
2. เลขที่หนังสือเดินทาง หากมีตัวหนังสือข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขให้เขียนลงไปด้วย
3. ช่องบัตรขาเข้าเลขที่ ให้กรอกเลขที่บัตรขาเข้า(บัตร ตม.6) ซึ่งแนบอยู่ในหนังสือเดินทาง โดยกรอกเช่นเดียวกับ
4. การกรอกเลขที่หนังสือเดินทาง กล่าวคือ หากมีตัวหนังสือ ให้กรอกตัวหนังสือลงไปด้วย
5. วันเดินทางเข้า หมายถึง วันที่คนต้างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย สำหรับวันที่เข้าพัก ให้กรอกลงในแผ่นหน้าของใบแจ้งรับคนต่างด้าว เข้าพักอาศัย
พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลในแบบ ตม.30 เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีการกรอกข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการรับแจ้งและฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บรักษาต่อไป
การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
วิธีการแจ้ง
1. คนต่างด้าวแจ้งด้วยตนเอง
2. คนต่างด้าวมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้ง
3. คนต่างด้าวอาจมีหนังสือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
หมายเหตุ **คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วันหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับ
**กรณีที่เกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยฯ คนต่างด้าวที่มารายงานตัว จะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท
**กรณีคนต่างด้าวเดินทางออกนอกประเทศก่อนครบกำหนดนัดครั้งต่อไป เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว ให้มารายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยครั้งต่อไป เมื่อครบกำหนด 90 วัน นับแต่วันเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ครั้งสุดท้าย
เอกสารประกอบคำร้อง กรณียื่นด้วยตนเอง
1. หนังสือเดินทาง (Passport)
2. บัตร ตม.6 ขาออก (TM.6) ดูตัวอย่างบัตร ตม.6
3. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน 90 วันมาแล้ว) ดูตัวอย่างใบรับแจ้ง
4. กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย ดูตัวอย่าง
สถานที่รับแจ้ง
1. กรณีคนต่างด้าวพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร แจ้งด้วยตนเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำหนังสือไปแจ้งแทนที่ งานรับแจ้งที่พักอาศัย ชั้น 2 ศูนย์บริการชั่วคราวเมืองทองธานี อาคาร 6 ชั้น ถนนป๊อปปูล่า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี (คลิกดูสถานที่ตั้ง)
หมายเหตุ ที่อยู่สำหรับจัดส่ง กรณีแจ้งทางไปรษณีย์ กรณาส่งไปที่
งานรับแจ้งที่พักอาศัย (รายงานตัว 90 วัน) กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารบี เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
หรือ
90 Days Report Section
Immigration Division 1 , Immigration Bureau,
Chalermprakiat Government Complex B Building
120 Moo 3 , Chaengwattana Rd., Soi 7, Toongsonghong, Laksi, Bangkok. 10210
(คลิกดูสถานที่ตั้ง)
2. ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน กองกำกับการ 3 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 อาคารจัตุรัสจามจุรีสแควร์ ชั้น 18 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สำหรับคนต่างด้าวที่ทำงานในนิติบคุคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท (คลิกดูสถานที่ตั้ง)
3. ศูนย์บริการแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ในเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาวและกัมพูชา ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (คลิกดูสถานที่ตั้ง)
4. สำหรับต่างจังหวัด แจ้งที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกแห่ง ตามเขตพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย
การปฏิบัติเมื่อแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
1. สำเนาหนังสือเดินทางหน้ารูปถ่าย , วันเดินทางเข้าประเทศครั้งสุดท้าย และการอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยครั้งล่าสุด
2. สำเนาบัตร ตม.6 ขาออก หน้า-หลัง (TM.6) ดูตัวอย่างบัตร ตม.6
3. ใบรับแจ้งการอยู่เกิน 90 วัน (กรณีที่มีการแจ้งอยู่เกิน90 วันมาแล้ว) ดูตัวอย่างใบรับแจ้ง
4. กรอกรายละเอียดใน แบบฟอร์ม ตม. 47 พร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย ดูตัวอย่าง
5. ซองจดหมายพร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงคนต่างด้าว เพื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้จัดส่งใบนัดส่วนล่างของแบบ ตม.47 เมื่อรับแจ้งอยู่เกิน 90 วัน แล้ว พร้อมแบบ ตม.47 เพื่อใช้แจ้งอยู่เกิน 90 วันในครั้งต่อไป
6. นำเอกสารตามข้อ 1-5 ใส่ซองและจัดส่งโดยไปรษณีย์ลงทะเบียน ก่อนวันครบกำหนดการแจ้ง(ตามใบนัด) 15 วัน ทั้งนี้คนต่างด้าวจะต้องเก็บหลักฐานการลงทะเบียนไว้ โดยจ่าหน้าซองมาที่ ด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามเขตพื้นที่ที่คนต่างด้าวพักอาศัย
หมายเหตุ
การรับแจ้งที่พักอาศัย กรณีคนต่างด้วอยู่เกิน 90 วัน มิใช่ เป็นการขออยู่ต่อในราชอาณาจักร
คนต่างด้าวผู้ใดอยู่เกินกว่า 90 วัน ไม่แจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือแจ้งช้ากว่าที่กำหนด ต้องมารายงานตัวด้วยตนเอง และเสียค่าปรับ จำนวน 2000 บาท หรือคนต่างด้าวถูกจับกุมตัวมาไม่ว่ากรณีใดๆ ต้องเสียค่าปรับ จำนวน 4,000 บาท
เมื่อคนต่างด้าวเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เมื่อเดินทางกลับมาให้เริ่มนับเวลา 90 วันใหม่ทุกกรณี